ยำผิวส้มซ่าหรือส้มจีน
(อ้างอิงจาก หนังสือ อนุสรณ์ เจ้าจอมพิศว์ ต.จ. ในรัชกาลที่ ๕ ณ เมรุวัดประยุรวงศาวาส วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๔)
พูดถึงอาหารไทยแท้ไทยโบราณ ท่านรู้หรือไม่ว่า พืชชนิดใดที่คนไทยสมัยก่อนนำมาให้รสเปรี้ยวในสำรับอาหารมากที่สุด ? ถ้าเป็นปัจจุบันจะตอบได้ง่าย ๆ ว่าเป็น “มะนาว” แต่สมัยก่อนนั้น ไม่ใช่เลยขอรับ คนไทยอาศัยความเปรี้ยวจาก”มะขาม” มากที่สุด ใช้ทั้งยอดอ่อน ดอก ฝักอ่อน และ โดยเฉพาะมะขามเปียก แต่ทราบไหมขอรับว่า ส่วนใหญ่น้ำมะขามเปียกมักไม่ใช่องค์ ประกอบเด่นในอาหารไทย ตัวมะขามเปียกเอง ก็นำมาทำเป็นอาหารหลักไม่ได้ ไม่เคยมีตำรับ ยำมะขามเปียก แกงมะขามเปียก หรือ มะขามเปียกลอยแก้ว แต่อย่างใดเลย อย่างที่เห็นก็แค่เป็นเครื่องดื่ม ในกลุ่มน้ำปานะ ที่ภิกษุในศาสนาพุทธสามารถฉันได้ในยามวิกาล เช่น น้ำมะขาม
Incorrect username or password.
Incorrect username or password.
แต่ทว่ายังมีพืชอีกอย่างหนึ่ง ที่ให้ความเปรี้ยว และหอมดี มักมีบทบาทเป็นตัวเอกในสำรับ ใช้โรยหน้า และเข้าเครื่องอยู่เสมอ นั่นคือ “ผลส้มซ่า” (Citron or Bitter orange or Marmalade orange) โดยคนไทยมักจะใช้ “ส้มซ่า” ใส่ในอาหารทั้งเครื่องคาวหวานและเครื่อง ว่าง เช่นใส่ใน ผัดหมี่กรอบ ยำแบบโบราณต่าง ๆ ใส่ในแกงมัสหมั่น แกงกะหรี่ แกงจีจ๋วน และ ไส้กรอกปลาแนม เครื่องว่างคาว หรือบีบน้ำใส่ในน้ำพริกต่าง ๆ ฯลฯ และที่สำคัญ “ส้มซ่า” ยังสามารถเป็นองค์ประกอบหลักก็ได้ เช่น นำมายำเป็น ยำผิวส้มซ่า หรือ นำมาทำ ส้มซ่าลอยแก้ว เป็นของหวาน คราวนี้ท่านขุน ใคร่ขอนำเสนอการทำ “ยำผิวส้มซ่าหรือส้มจีน” ที่ให้ชื่ออาหารไปเช่นนี้ ก็เนื่องจากอัจฉริยะของคนโบราณ หากไม่มีส้มซ่า เพราะในบางฤดูกาลอาจหายาก (ส้มซ่าจะมีมากในฤดูฝนถึงต้นฤดูหนาว) แต่จะสามารถใช้พืชตระกูลส้ม ชนิดอื่นที่เหมาะสม มาปรุงแทนได้ นั่นก็คือ ส้มจีน หรือ ส้มตรา ส้มเกลี้ยง นั่นเอง (Mandarin orange) เพราะส้มชนิดนี้จะออกมากในช่วงฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน
เพราะส้มชนิดนี้จะออกมากในช่วงฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน
ที่สำคัญที่สุด ทั้ง ส้มซ่า (Citrus aurantium var. aurantium) ส้มซ่าหวาน (Citrus medica var. limetta) และ ส้มจีน (Citrus sinensis Osbeck) หรือ ส้มเกลี้ยง ( Citrus reticulata Blanco) เหล่านี้ ต่างมีสรรพคุณทางเภสัชมากมาย เช่น ขจัดเสมหะ ให้ความหอมแบบสุคนธ์บำบัด (aromatic) เป็นต้น ซึ่งท่านขุนจักไม่อธิบายเพิ่มเติมในที่นี้ เพียงแต่อยากเสนอว่า อาหารไทยแต่โบร่ำโบราณนั้นนับเป็นโอสถได้เลยล่ะขอรับ มาดูตัวอย่าง จาก”ยำผิวส้มซ่าหรือส้มจีน” กันดีกว่า
ตำรับนี้มีในตำรา ในงานอนุสรณ์ เจ้าจอมพิศว์ ต.จ. ในรัชกาลที่ 5 บุตรสาวของ ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ ที่เคยกล่าวถึงมาหลายครั้งอีกเช่นกัน ท่านระบุไว้ดังนี้ (ท่านขุนจักถอดคำตามภาษาในต้นฉบับตำรับเก่ามาให้อ่าน)
เครื่องปรุง-วิธีปรุง
- ส้มซ่าผลงาม ๆ ๒ ผล ล้างให้สะอาด ฝานบาง ๆ รอบผลจนหมดผิวเขียว ซ้อน ๆ กันหั่นฝอยแช่น้ำ (เนื้อ)ส้มที่ปอกแล้วหั่นบาง ๆ
- กุ้งสด ล้างแล้วต้ม หั่นชิ้นเล็ก ๆ ทั้งเนื้อและมัน
- เนื้อหมู มันแข็ง ต้มให้สุกหั่นชิ้นเล็ก ๆ ยาว ๆ
- หนังหมู ขูดให้สะอาดแล้วต้มอย่าให้ทันเปื่อย ตัดเป็นชิ้น ๆ แล่แล้วหั่นไม่ต้องถึงเป็นเส้นไหม (ไม่ต้องฝอยมาก : ผู้เขียน) แต่ก็ต้องให้เล็กหน่อย หนังหมูหั่นชิ้นใหญ่ ไม่น่ารับประทาน
- หัวหอม ๑๑ หัว ซอยแล้วเจียวให้เหลืองอ่อน
- กระเทียมเล็ก ๒๑ หัว หั่นฝาง (ขวาง) หัวแล้วเจียวให้เหลือง
- ถั่วลิสง คั่วปอกแล้วบุบ ๆ พอแตกหลาย ๆ ซีก ประมาณ ๓ ช้อนโต๊ะ
- น้ำตาลหม้อ น้ำปลา น้ำมะขามเปียก ผสมเคี่ยวให้เหนียว ให้มีหวานนำเปรี้ยวเค็ม จัดเครื่องทุก ๆ อย่างลงจานเดียวกันให้งาม จวนจะรับประทานจึงคลุกกับน้ำปรุงรสที่ผสมไว้ โรยกระเทียมเจียวและหอมเจียวอีก
นับเป็นตำรับยำโบราณที่ไม่ยาก ไม่เผ็ด เพราะไม่มีพริก เหมาะกับคนป่วยหรือคนเพิ่งฟื้นไข้ ให้ได้เปลี่ยนรสปรับลิ้นจาก อาหารรสอ่อน ๆ มารับประทานอาหารรสหลากหลาย เปรี้ยว เค็ม หวาน หอม กรอบ นุ่ม จากส่วนผสมนานาชนิด ที่เป็นประโยชน์ บำรุงกำลัง ให้คนป่วยหรือพักฟื้น ได้เจริญอาหารยิ่งขึ้น นับเป็นสุนทรียรสอย่างยิ่ง และจะเป็นกลุ่มอาหารประเภทสลัด เหมาะกับชาวต่างชาติ ที่ไม่เคยลิ้มรสอาหารไทยชนิดอื่น นอกจาก ต้มยำกุ้ง ผัดไทย แกงเขียวหวาน ฯลฯ วันนี้ขอทำคะแนนเอาใจสมาชิก Thaifoodmaster ทั้งไทยและเทศ !!!
Add your own recipe notes
You must be a member to use this feature
Ingredients
ส่วนผสม
- 1 ช้อนโต๊ะ ผิวส้มซ่าซอยบาง ๆ 1 ลูก
- 5 ตัว กุ้งแชบ๊วยหั่นเป็นชิ้นพอคำ 1/2 ถ้วย
- 1/2 ถ้วย หมูสามชั้นต้มสุกหั่นเป็นชิ้นพอคำ
- 1/3 ถ้วย หนังหมูต้มสุกหั่นเป็นเส้นบาง ๆ
- 1/2 ถ้วย หอมเจียว
- 1/3 ถ้วย กระเทียมเจียว
- 2 ช้อนโต๊ะ ถั่วลิสงคั่วโขลกหยาบ
ส่วนผสมน้ำยำ
- 2 ช้อนโต๊ะ น้ำมะขามเปียก
- 1 ช้อนโต๊ะ น้ำปลา + 1 ช้อนชา
- 4 ช้อนโต๊ะ น้ำตาลมะพร้าว
- 1 ช้อนโต๊ะ น้ำเปล่า
Instructions
- ต้มหมูสามชั้นและหนังหมู กับ ใบเตย จะทำให้มีกลิ่นหอม
- ลวกกุ้งให้สุกและหั่นเป็นชิ้นพอคำ
- ตั้งหม้อไฟอ่อนละลายน้ำตาลกับน้ำเปล่า
- ใส่น้ำปลาลงไป
- ใส่น้ำมะขามเปียกลงไป
- เคี่ยวจนมีความข้น จากนั้นทิ้งให้เย็นลง
- ปอกผิวส้มซ่า
- ซอยเป็นเส้นบาง ๆ
- ผสมวัตถุดิบทั้งหมดในอ่างผสม
- ใส่น้ำยำ หอมเจียว กระเทียมเจียว คลุกให้เข้ากัน
- โรยหน้าด้วยผิวส้มซ่าซอยบาง ๆ และเสริฟ
Thai desserts are usually made from common ingredients and therefore very popular. However, it was only during the 17th century that desserts and sweets actually became part of everyday meals. In the old days, they were served only at auspicious occasions and ceremonies.
During wedding ceremonies, for example, four kinds of sweets are usually served, collectively known as “the four plates dessert” (ขนมสี่ถ้วย ; khanohm see thuay). The ancient Thai expression “To eat four cups of dessert” (กินสี่ถ้วย ; gin see thuay ) used in the central region of the kingdom as an idiom referring to a wedding banquet.
ค้นข้อมูลดูว่าตำรับ “เมี่ยงคำ” เริ่มปรากฏมีบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแต่เมื่อใดกันแน่ สอบทานดูตำราอาหารเก่า ๆ หลายตำรับ ที่ตีพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ก็ไม่พบ “เมี่ยงคำ” ในวิถีอาหารไทยโบราณแต่อย่างใด พบแต่ เมี่ยงลาว หรือ เมี่ยงพายัพ ซึ่งหมายถึงเมี่ยงที่มาจากทางเหนือ จากการอ่านหนังสือหลาย ๆ เล่ม เพื่อหาข้อมูลพบว่า “เมี่ยง” ได้เริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายในรั้วในวัง ก็หลังจากที่พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ลงมารับราชการในราชสำนักที่กรุงเทพฯ และได้นำวัฒนธรรมการกินเมี่ยง ซึ่งเป็นหนึ่งในวิถีการดำรงชีวิตแบบล้านนาติดมาในหมู่ข้าราชบริพารชาวเหนือในตำหนักของพระองค์ ซึ่งบรรดาชาววังในสมัยนั้นจะเห็นเป็นสิ่งแปลกตาโก้เก๋ และคอยเอาอย่างในบางเรื่อง ทำให้หลังจากนั้นจึงค่อยเริ่มมีตำรับเมี่ยงต่าง ๆ ออกมามากมาย ปรากฏในตำราอาหารหรือเครื่องว่างต่าง ๆ ของไทยในสมัยต่อ ๆ มา สำหรับ “เมี่ยงคำ” นั้น พบว่ามีปรากฏครั้งแรก ในบทกาพย์เห่ชมเครื่องว่าง ของรัชกาลที่ ๖ ที่ใช้เป็นบทนำในตอนต้นบทความนี้ ซึ่งนั่นก็แสดงว่า “เมี่ยงคำ” กลายเป็นเครื่องว่างในวังหลวงเป็นที่นิยมกันมากแล้วในสมัยนั้นถึงสามารถขึ้นโต๊ะเครื่องเสวยได้ จึงเป็นข้อสันนิษฐานว่าน่าจะมีกำเนิดมาไม่เก่าไปกว่าสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นแน่แท้ ตำรับ “เมี่ยงคำ” คงจะเกิดจากการคิดประดิษฐ์ทำนำสิ่งละอันพันละน้อย ใส่ไปในคำเมี่ยง พร้อมใส่น้ำเมี่ยง เพื่อรับประทาน ทีละคำ ๆ จึงได้ชื่อว่า “เมี่ยงคำ” เหมือน ๆ หรือทำนองเดียวกันกับ “เมี่ยงอยาก” ที่ คุณป้า ม.ล. เนื่อง นิลรัตน์ เขียนบันทึกไว้ในหนังสือ “ชีวิตในวัง” ที่ตีพิมพ์มาแล้วหลายครั้ง ว่าเกิดจากความอยากกินเมี่ยง ของกลุ่มข้าหลวงวังสวนสุนันทา เวลามานั่งจับกลุ่มคุยกันยามว่างภารกิจ และไปค้นหาของในครัว ได้ กากหมู น้ำตาลปึก กะปิ ฯลฯ ก็นำมารับประทานกันเป็น”เมี่ยง” ที่อร่อยอย่างง่าย ๆ
It is believed that this dish was introduced to the Siamese royal cuisine in the middle of the seventeenth century by Portuguese traders. Later, along with other egg yolk-based golden sweets like the golden drops (thong yot ทองหยอด), golden flowers (thong yip ทองหยิบ) and golden threads (foi thong ฝอยทอง), these royal desserts were passed to commoners outside the court.
For the marzipan filling I am using, beside the mung beans, both the flesh and the water of fragrant young coconuts. It gives a rich, sweet and almost nutty flavor which works perfectly with the silky texture of the mung beans and the creamy golden egg yolks coating.
Get Access – Join Thaifoodmaster Today
Practical and kitchen-tested recipes with a mix of theory, history, psychology, and Siamese culture tidbits.
Access to Thaifoodmaster’s constantly growing library of prime professional classes, articles, recipes and videos on Siamese culinary topics, available nowhere else in English.
Gain access to NEW MONTHLY masterclasses as they become available.
1-1 support from Hanuman to help you achieve your professional Thai culinary goals
The opportunity to join a monthly live two-hour videoconference where I can answer your questions.
one year access for the price of 3 days in-person training.
You will get everything you need to:
When you design or build a new menu for an event or restaurant or even prepare for dinner with friends.
Finally !
Master your Thai cooking skills and expand your repertoire.