แกงมัสมั่น – แกงมาชะแมน – แกงหมัดสมั่น

จัดทำโดย หนุมาน, ขุนวิเสทเลือดเย็น, ฐาปกร เลิศวิริยะวิทย์ (เชฟกร)
Chicken Massaman Curry Recipe
แกงมัสมั่น

แกงมัสมั่น – แกงมาชะแมน – แกงหมัดสมั่น

อาหารไทยที่เคยได้รับการจัดอันดับว่ามีรสชาติอร่อยที่สุดในโลก และติดอันดับต้น ๆ ในการจัดอันดับ อาหารรสชาติดีที่สุดของโลกหลายครั้งจาก CNN ด้วยความหอมกลิ่นเครื่องเทศ ในกะทิที่เคี่ยวจนข้น จนเป็นที่รู้จักแพร่หลายเป็นสากล

แกงไก่มัสมั่นเนื้อ นพคุณ พี่เอย
หอมยี่หร่ารสฉุน เฉียบร้อน
ชายใดบริโภคภุญช์ พิศวาส หวังนา
แรงอยากยอหัตถ์ข้อน อกให้หวนแสวง
(บทพระราชนิพนธ์ “กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน” ในรัชกาลที่ ๒)

บทพระราชนิพนธ์นี้ ถือเป็นหลักฐานลายลัษณ์อักษรชิ้นสำคัญที่บ่งชี้ให้ทราบว่า “แกงมัสมั่น” ของไทย เป็นแกงโบราณมาแต่เก่าก่อนไม่ต่ำกว่า ๒๐๐ ปีมาแล้ว จากหลักฐานเชื่อว่า คนไทยรับอิทธิพลแกงชนิดนี้มาจากเปอร์เซีย ตั้งแต่ช่วงปลายสมัยอยุธยาโน่น บางคนอาจจะนึกว่าแกงมัสมั่นนี้เป็นตำรับอาหารที่คนไทยรับอิทธิพลมาจากมลายูเพราะประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียจะอยู่ถ้ดลงไปทางใต้ คนไทยทางภาคใต้ที่ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมมักได้รับอิทธิพลหลักจากมุสลิมและด้วยความที่มลายูเป็นชาติมุสลิมมาเนิ่นนานนับพันปี แม้กระทั่งข้อมูลในวิกิพีเดียก็บันทึกไว้อย่างนี้ ข้อมูลจึงขัดแย้งกันอยู่ และบางคนอาจคิดว่า “แกงมัสมั่น” เป็นอาหารดั้งเดิมแต่เฉพาะของในรั้วในวังเท่านั้น ตามปริบทในบทพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่กล่าวมาข้างต้น

Gezicht_op_Judea,_de_hoofdstad_van_Siam_Rijksmuseum_SK-A-4477

แต่จากการศึกษา ตำรับ “แกงมัสมั่น” กลับพบว่าเป็นอาหารที่รับอิทธิพลมาจากเปอร์เซีย ซึ่งเป็นคนมุสลิมเช่นกัน แพร่หลายในหมู่ชาวไทยเชื้อสายมุสลืมมาแต่เก่าก่อน ด้วยมีชาวเปอร์เซียนำโดยสุลต่านสุลัยมานเข้ามาตั้งรกรากและสถานีการค้าที่บางกอกและเข้าไปทำการค้ากับกรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่ช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว และช่วงตอนเสียกรุง ในปี พ.ศ.๒๓๑๐ ชาวมุสลิมจากกรุงศรีอยุธยานำโดย เชคอะหมัดกุมมี ก็ได้อพยพหนีภัยสงครามมาที่บางกอกปักหลักอาศัยตั้งถิ่นฐานอยู่แถบละแวกคลองบางหลวง (คลองบางกอกใหญ่ในปัจจุบัน) ตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี สืบมาจนกรุงรัตนโกสินทร์ ตราบปัจจุบันนี้ หลักฐานการตั้งหลักแหล่งจะเห็นได้ชัดเจนจากชุมชนมุสลิมเก่าตามริมคลอง ที่มีมัสยิด หรือที่เรียกแบบไทยว่า “กุฎี” ต่าง ๆ เช่น กุฎีใหญ่ กุฎีหลวง กุฎีกลาง กุฎีขาว ฯลฯ รายรอบตามลำคลองบางหลวง และจากการตามรอยวัฒนธรรมอาหาร ก็จะพบขนบธรรมเนียมการกินอยู่และอาหารมุสลิมต่าง ๆ เช่น แกงมัสมั่น แกงกูรุม่า ลุดตี่ (โรตี) หรุ่ม มัศกอด ฯลฯ ในวิถีชืวิตคนไทยเหล่านี้ ยังคงสืบทอดรุ่นสู่รุ่นมายังคนรุ่นปัจจุบัน และการที่อาหารมุสลิมแพร่หลายเข้าสู่ราชสำนักรัตนโกสินทร์นั้น ก็เนื่องเพราะพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมื่อครั้งก่อนจะปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ ก็มีนิวาสถานอยู่แถบคลองบางหลวงแห่งนี้ และมีสัมพันธ์ที่ดีกับคนไทยเชื้อสายมุสลิม และเมื่อขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีแล้ว ก็ทรงมีสนมเจ้าจอมที่มาจากเชื้อสายมุสลิมเข้าถวายตัว คือเจ้าจอมหงส์ ธิดาพระยาจุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว) ด้วย ผู้นำมุสลิมชุมชนบางหลวงอย่างพระยาจุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว) ก็มีบทบาทในราชสำนักไม่น้อย ดังปรากฏหลักฐานว่า รัชกาลที่ ๑ ทรงมีหมายรับสั่งให้พระยาจุฬาราชมนตรีและคณะ ปรุงข้าวหุง เพื่อเลี้ยงพระ และผู้คน ในคราวฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ใน พ.ศ.๒๓๕๒ เป็นต้น และอิทธิพลอาหารมุสลิมก็ได้เผยแผ่เข้าไปในราชสำนักอย่างแพร่หลาย ดังปรากฏชื่ออาหารมุสลิมในวรรณกรรม บทกวี บันทึกพงศาวดาร หรือบทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ ๒ อยู่หลายชนิด อีกทั้งตระกูลขุนนางเชื้อสายมุสลิมเดิม ก็มีบทบาทในราชสำนักสืบมาหลายรัชกาล รวมทั้งเจ้าจอมมารดาในหลายรัชกาล ก็มีเชื้อสายมุสลิม เช่นเจ้าจอมมารดาเรียม พระราชชนนีในรัชกาลที่ ๓ หรือเจ้าจอมมารดาละม้าย ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เป็นธิดาของพระยาจุฬาราชมนตรี(สิน) จึงไม่แปลกอะไรที่อาหารมุสลิมจะยังคงมีอิทธิพลในหมู่อาหารชาววัง หรือในหมู่ชนชั้นสูง หรือ แม้แต่ในหมู่ ไพร่สามัญชนในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์สืบมาจนสมัยรัชกาลที่ ๕

28993-01

ชื่อ”แกงมัสมั่น” สันนิษฐานว่า มาจากคำว่า “มุสลิมาน” ซึ่งเป็นพหูพจน์ของคำว่า มุสลิม นั่นเอง ถือเป็นอาหารพิเศษ ที่ทำเฉพาะในงานบุญของชาวมุสลิม ลักษณะจะปรุงด้วยเนื้อสัตว์ต่าง ๆ เช่น ไก่ โค แพะ แกะ ฯลฯ ที่ต้องทอดเครื่องปรุงก่อน แล้วจึงเคี่ยวในน้ำแกงที่ “เข้ากะทิ” และ เครื่องเทศ อาจใส่ ลูกมะด่ำ (อัลมอนด์) ลูกเกต หรือ ถั่วลิสงเพิ่มรสมัน ปรุงรสเปรี้ยวเค็มหวาน รสเย็นตามตำรับแบบอาหารมุสลิม แต่เมื่อคนไทยรับเข้ามา จึงปรับรสให้ถูกลิ้นคนไทย ออกแบบรสไทย โดยใส่น้ำส้มซ่า หรือน้ำมะขามเปียก และปรุงรสจัดขึ้น มีการใส่ มันฝรั่งหรือมันเทศ บ้างใส่สับปะรด ก็มี และก็ถือเป็นอาหารพิเศษสำหรับคนทั่วไปด้วย

แกงมัสมั่นเนื้อ – แกงมาชะแมนเนื้อโค อย่างหม่อมส้มจีน ร.ศ.๑๐๙
ตำรับอาหารที่บันทึกและตึพิมพ์เป็นครั้งแรกของไทย อย่าง ตำรากับข้าวของหม่อมส้มจีน ร.ศ.๑๐๙

แกงมัสมั่น
แกงมาชะแมนเนื้อโค

this content is locked

เนื้อหานี้ถูกล็อค

สมัครสมาชิก เพื่ออ่านเพิ่มเติม. ลืมรหัสผ่าน? 

Incorrect username or password.

New account

Incorrect username or password.

ในที่นี้จะใช้เนื้อโค (สำหรับสัดส่วนของเครื่องปรุงต่าง ๆ ให้ดูได้ในขั้นตอนการทำ) ทำความสะอาดหั่นและทอดด้วยน้ำมันเนยหรือน้ำมันหมู พักไว้

แกงมัสมั่น

โขลกพริกขิง เครื่องแกงโดนใช้ พริกแห้ง ลูกผักชี ยี่หร่า พริกไทย ตะไคร้ หนักอย่างละเท่า ๆ กัน หอมแดงเผา เกลือ โขลกให้ละเอียดจนปั้นเป็นก้อนได้

มะพร้าวขูดคั้นกะทิแยกหัวและหาง นำพริกขิงละลายเคี่ยวกับกะทิจนแตกมัน ใส่เนื้อที่ทอดลงรวนให้เข้ากัน เติมหางกะทิ ให้ท่วมเนื้อสัก ๑ นิ้ว ใส่ขิงสดหั่นบาง ๆ กานพลู อบเชย ใส่น้ำส้มซ่า (หากไม่มีใช้น้ำมะขามเปียก แต่ส้มซ่าจะรสดีกว่า) ใบกระวาน หอมเผาปอกเปลือก น้ำตาล อาจใส่เม็ดอัลมอนด์ต้มหรือถั่วลิสงคั่วเพื่อเพิ่มรสมัน ชิมรสให้เปรี้ยวหวานเย็นคอ จึงนิยมว่ารสดี ตามที่หม่อมส้มจีน เจ้าของตำรับได้ระบุไว้

แกงมัสมั่น

ถ้าสังเกต จะเห็นว่าแกงมัสมั่นแต่เดิมจะไม่เน้นรสหวานเช่นปัจจุบัน และจะไม่ใส่มันฝรั่งหรือมันเทศเช่นปัจจุบัน

แกงมัสมั่นใส่น้ำส้มซ่า อย่างทานผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ ร.ศ.๑๐๘

แกงมัสมั่น

มีวารสารสมัยรัชกาลที่ ๕ ชื่อ “ประติทินบัตร แล จดหมายเหตุ” พิมพ์จำหน่ายเมื่อปี ร.ศ.๑๐๘ หรือ พ.ศ.๒๔๓๒ ร้อยกว่าปีมาแล้ว กำหนดออกเป็นรายเดือน ซึ่งท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ ได้เริ่มเขียนคอลัมน์การทำอาหารเป็นครั้งแรกที่วารสารนี้ แต่ก็ออกได้เพียง ๖ เล่ม จึงหยุดไป และเป็นจุดเริ่มต้นให้ท่านเขียนตำรา “แม่ครัวหัวป่าก์” ในอีกหลายปีต่อมา อาหารตำรับแรกที่ปรากฏในข้อเขียนของท่านคือ “แกงหมัดสมั่นกับน้ำซ่มซ่า” (ตามการสะกดในต้นฉบับ) จึงแกะตำรับของท่าน ถ่ายทอดมาเป็นสำรับมื้อพิเศษ ให้บรรดาสมาชิกในเรือนเราได้ลิ้มรส หรือเอาไปลองทำตาม

สำหรับสูตร เพื่อให้เกียรติและเป็นการแสดงความเคารพต่อ “ครู” ท่านผู้หญิงเปลี่ยน เราจึงขอนำสูตร ทั้งหมดของท่านมาลงไว้ให้ โดยจะยังคงรักษาภาษา และมาตราชั่งน้ำหนักแบบไทยคงเดิม ถ้าอ่านแล้วยังงงหรือทำความเข้าใจได้ไม่กระจ่างนัก ก็ดูภาพประกอบ จากโพสต์ที่นำเสนอการโขลกน้ำพริก และลำดับการปรุงในโพสต์นี้ จะได้ช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น

สูตรการปรุง “แกงหมัดสมั่นกับน้ำซ่มซ่า” มีดังนี้
พริกแห้งหนัก ๕ สลึง ดอกจันหนักสลึงหนึ่ง ลูกจันหนัก ๒ ไพ ลูกกระวานหนัก ๒ ไพ ลูกผักชีหนักเฟื้องหนึ่ง ลูกยี่หร่าหนัก ๒ ไพ พริกไทยหนักสลึงหนึ่ง เกลือหนักสลึงหนึ่ง ตะไคร้หนัก ๒ ไพ รากผักชีหนักสลึงหนึ่ง หอมหนัก ๙ สลึง กระเทียมหนัก ๓ สลึง กะปิหนัก ๓ สลึง ของเหล่านี้ใส่กะทะคั่ว ให้เหลืองพอหอม ตำเปนน้ำพริก

วิธีจะแกง น้ำกะทิหนัก ๑๒๐ บาท ตั้งเคี่ยวพอร้อน เนื้อไก่ตัดเปนท่อนโต ๆ ใส่ลงในกะทิ เคี่ยวไปพอเนื้อไก่สุก เอาน้ำพริกที่ตำไว้ผัดลงในน้ำมันหมูหนัก ๒ บาท ผัดพอหอม ละลายลงในแกงเคี่ยวไป เมื่อเดือดทั่วกันดีแล้ว เอาหอมหัวใหญ่ใส่หนัก ๑๒ บาท เอาน้ำปลาใส่หนัก ๙ บาท น้ำตาลหม้อหนัก ๕ บาท ๒ สลึง น้ำซ่มมะขามคั้นแล้วหนัก ๔ บาท ซ่มซ่าบีบเอาแต่น้ำหนัก ๒๕ บาท ลูกกิดเสม็ด หนัก ๑๒ บาท ใส่ลงเคี่ยวดูให้ทั่วกัน แล้วชิมดู ตามแต่จะชอบรับประทาน

คิดว่าคงไม่มีใครเอาเครื่องชั่งโบราณ มาชั่งเครื่องน้ำพริกหรอกนะขอรับ ให้ดูปริมาณจากสูตรด้านล่าง และ ถ้าใครคิดทางลัด ซื้อเครื่องแกงสำเร็จรูปมาทำล่ะก็ ขอบอกไว้เลยว่า ท่านจะปรุงอย่างไรก็ไม่หอมไม่อร่อย ขนาดที่เขาทำขายตามร้านข้าวแกง รูปลักษณ์น้ำแกงโหลงโจ้ง ก็ไม่ใช่แล้ว มิพักต้องเอ่ยถึงรสชาติ มาลองหัดทำตามตำรับนี้ดูขอรับ แล้วจะได้รู้ว่าฝีมือชั้นครูเป็นอย่างไร

เมื่อได้เครื่องแกงมัสมั่น และได้ส้มซ่า ที่หายากมากมาแล้ว เตรียมไก่บ้านขนาดตัวละ 1 กก. กะทิ คั้นจากมะพร้าวขูดกระต่าย 1 ผล ก็พอ แกงมัสมั่นจะเป็นแกงที่ไม่มีน้ำมาก น้ำแกงจะขลุกขลิก และ ข้น ๆ แบบน้ำจิ้มสะเต๊ะสมัยนี้ ตำรับเดิมท่านไม่ได้ใส่ถั่วลิสงคั่ว และมันฝรั่งหริอ ม้นเทศอย่างปัจจุบัน ท่านใส่ลูกกิจเสม็ดสุลตาลนา

ตรงนี้ท่านศาสตราจารย์ ดร.กุสุมา รักษมณี ได้กรุณาอธิบายให้ฟังว่า คำว่า “กิจเสม็ด” จะมาจากคำว่า “กิศมิศ (किशमिश – Kishmish)” ที่หมายถึง “ลูกเกด” และ คำว่า “สุลตาลนา” จะมาจากคำว่า “สุลฺตานา (सुल्ताना – Sultana)” ที่หมายถึง “ลูกเกดแห้งซึ่งทำจากองุ่นเขียว”

และสำหรับเนื้อไก่ ตำรับจึงนี้จะเคี่ยวกับหางกะทิ โดยไม่ต้องทอดก่อน ค่อยนำไปเคี่ยวกับน้ำพริกที่ผัดกับน้ำมันหมูให้หอม และอยากแนะนำว่า แกงมัสมั่นจะอร่อยต้องมีน้ำส้มซ่า จะมากหรือน้อยก็แล้วแต่ จะทำให้แกงมัสมั่นมีรสชาติกลมกล่อมดีขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ ถ้าไม่มีส้มซ่า ท่านขุนฯ จะไม่แกงมัสมั่นเลย

แกงมัสมั่นนี่ รสจะออกเปรี้ยวนำนิด ๆ ตามด้วยเค็มกับหวานมาใกล้ ๆ กัน แต่สมัยนี้ที่แกงขายส่วนใหญ่จะ ออกหวานนำเสียมาก ค่อนข้างเลี่ยน โบราณท่านจะไม่รับประทานกับข้าวสวยเลย จะต้องเข้าชุดกันกับข้าวหุงอย่างเทศ หรือ “ข้าวบุหรี่” หรือบางตำราเรียก “ข้าวสุลต่าน”  ที่เรารับมาจาก ข้าวบริญานี ของเปอร์เซียอีกเช่นกัน หรือไม่ก็จะรับประทานกับโรตี หรือลุดตี่ แป้งกลอก (เราได้มาจาก “นาน”)

สูตรทำแกงมัสมั่นไก่ใส่น้ำส้มซ่า อย่างท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ ร.ศ.๑๐๘
โดย หนุมาน และ ฐาปกร เลิศวิริยะวิทย์ (เชฟกร)
แกงมัสมั่น – แกงมาชะแมน – แกงหมัดสมั่น – “แกงมัสมั่น” ของไทย เป็นแกงโบราณมาแต่เก่าก่อนไม่ต่ำกว่า ๒๐๐ ปีมาแล้ว จากหลักฐานเชื่อว่า คนไทยรับอิทธิพลแกงชนิดนี้มาจากเปอร์เซีย ตั้งแต่ช่วงปลายสมัยอยุธยาโน่น บางคนอาจจะนึกว่าแกงมัสมั่นนี้เป็นตำรับอาหารที่คนไทยรับอิทธิพลมาจากมลายูเพราะประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียจะอยู่ถ้ดลงไปทางใต้ คนไทยทางภาคใต้ที่ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมมักได้รับอิทธิพลหลักจากมุสลิมและด้วยความที่มลายูเป็นชาติมุสลิมมาเนิ่นนานนับพันปี แม้กระทั่งข้อมูลในวิกิพีเดียก็บันทึกไว้อย่างนี้ ข้อมูลจึงขัดแย้งกันอยู่ และบางคนอาจคิดว่า “แกงมัสมั่น” เป็นอาหารดั้งเดิมแต่เฉพาะของในรั้วในวังเท่านั้น ตามปริบทในบทพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่กล่าวมาข้างต้น
No ratings yet

Add your own recipe notes

You must be a member to use this feature

Add to Collection Add to Shopping List
Course Main
Cuisine Thai
Servings 6

Ingredients
  

ส่วนผสม

  • ไก่ส่วนสะโพก หรือ ส่วนน่อง 6 ชิ้น
  • หัวกะทิ 3 ถ้วย
  • หางกะทิ 4 ถ้วย
  • เครื่องแกงมัสมั่น 1 ถ้วย 190 กรัม
  • น้ำมันหมู 2 1/2 ช้อนโต๊ะ
  • หอมแดงปอกเปลือก 20 หัวเล็ก
  • ลูกเกดเหลือง 1 ถ้วย
  • ถั่วลิสง 1 ถ้วย ใส่ตามต้องการแต่ในสูตรของท่านผู้หญิงเปลี่ยนไม่ได้ใส่
  • น้ำปลา 2 1/2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำตาลมะพร้าว 2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำมะขามเปียก 2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำส้มซ่า 3/4 ถ้วย

สวนผสมเครื่องแกงมัสมั่น

  • พริกแห้งเม็ดใหญ่คั่ว 30 เม็ด
  • เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
  • ตะไคร้ซอยคั่ว 2 1/2 ช้อนโต๊ะ
  • รากผักชีคั่ว 2 1/2 ช้อนโต๊ะ
  • หอมแดงเผาปอกเปลือก 1/2 ถ้วย
  • กระเทียมไทยเผาปอกเปลือก 2 1/2 ช้อนโต๊ะ
  • ลูกผักชีคั่ว 2 ช้อนชา
  • ลูกยี่หร่าคั่ว 2 ช้อนชา
  • พริกไทยเม็ดคั่ว 2 ช้อนชา
  • ลูกจันทน์เทศ 1 ช้อนชา
  • ดอกจันทน์คั่ว 2 ช้อนโต๊ะ
  • ลูกกระวานคั่ว 3 เม็ด
  • อบเชย ยาว 2 – 3 นิ้ว 2 แท่ง ใส่ตามต้องการแต่ในสูตรของท่านผู้หญิงเปลี่ยนไม่ได้ใส่
  • กะปิย่าง 1 ช้อนโต๊ะ

Instructions
 

  • An overview image of the curry paste ingredients; each has been separately roasted.
    ส่วนผสมเครื่องแกงมัสมั่น
  • Charred roasted dry long chilies.
    พริกแห้งเม็ดใหญ่คั่ว และ เกลือ
  • Pound all the ingredients into a smooth paste, and set aside.
    โขลกวัตถุดิบทั้งหมดให้ละเอียด
  • Simmer the chicken in coconut milk until it is cooked.
    นำเนื้อไก่เคี่ยวกับกะทิให้สุก
  • Heat the pork fat over medium heat, and fry the curry paste until fragrant.
    ผัดเครื่องแกงกับน้ำมันหมู
  • Gradually add cooking liquids from the chicken, and continue frying until it incorporates into the curry.
    ค่อย ๆ เติมน้ำกะทิที่ได้จากการต้มไก่ลงไป และ ผัดรวมกัน
  • Keep stirring until a beautiful red oil floats on top.
    ผัดจนเครื่องแกงสุก
  • Continue this until all the liquids are mixed together, then add the cooked chicken.
    ผสมเครื่องแกงลงไปในน้ำกะทิและไก้ที่ต้มไว้แล้ว
  • Add shallots.
    ใส่หอมแดงลงไป
  • Add sultana raisins.
    ใส่ลูกเกดลงไป
  • Cook until the shallots are soft, and the curry thickens to the desired consistency.
    ต้มแกงต่อไปจนหอมสุกและน้ำแกงมีความข้น
  • Add fish sauce.
    ใส่น้ำปลาลงไป
  • Add palm sugar.
    ใส่น้ำตาลมะพร้าวลงไป
  • Add tamarind paste.
    ใส่น้ำมะขามเปียกลงไป
  • Squeeze bitter orange juice.
    ปีบน้ำส้มซ่าลงไป
  • Serve.
    เสริฟ
Tried this recipe?We’d love to see it – tag it #THAIFOODMASTER on Instagram! Please leave a comment to let us know how it was!

Get Access – Join Thaifoodmaster Today

Practical and kitchen-tested recipes with a mix of theory, history, psychology, and Siamese culture tidbits.

  • Get access to everything right away. Unlock more than 50 Masterclasses, over 250 recipes and Articles

    Access to Thaifoodmaster’s constantly growing library of prime professional classes, articles, recipes and videos on Siamese culinary topics, available nowhere else in English.

  • GET EXTRA - New Monthly Masterclasses and Recipes

    Gain access to NEW MONTHLY masterclasses as they become available. 

  • 1-1 support from Hanuman

    1-1 support from Hanuman to help you achieve your professional Thai culinary goals

  • Live Q&A Sessions

    The opportunity to join a monthly live two-hour videoconference where I can answer your questions.

  • Great Value!

    one year access for the price of 3 days in-person training.

You will get everything you need to:

  • To Get inspired

    When you design or build a new menu for an event or restaurant or even prepare for dinner with friends.

  • To Satisfy your curiosity.

    Finally !

  • To Master Your Craft

    Master your Thai cooking skills and expand your repertoire.

It is truly brilliant with a revolutionary approach introducing aspects and concepts never broached by cookbooks.
Ian Westcott
Ian Westcott
Sourcing Wines for Discerning Private Clients
0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of

Previous:

Next:

0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x
Get a Free copy of my eBook "49 Classic Thai Stir Fry Dishes"

Subscribe to our newsletter that will keep you up to date with stories and events taking place at Thaifoodmaster!